Deepsea Challenge

โลกทัศน์แห่งห้วงลึก

แม้ความลึกของมหาสมุทรจะยากที่จะเข้าถึงเพียงใด แต่ความลึกเหล่านั้นก็ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้มวลมนุษยชาติ

แต่การจะเข้าถึงสถานที่ที่ยังไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนนั้นต้องอาศัยความอดทนต่อแรงดันอย่างมาก เป็นเวลากว่า 70 ปีที่ Rolex ได้ร่วมกับนักสำรวจในการพัฒนานาฬิกาที่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังยิ่งกว่าเดิม และรุ่นที่กลายมาเป็นทั้งไอคอนของการผลิตนาฬิกาและเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบสมรรถนะในโลกของการดำน้ำ ได้แก่ Submariner ที่เปิดตัวในปี 1953 Sea-Dweller (ปี 1967) และ Rolex Deepsea (ปี 2008) ผลจากความเชี่ยวชาญนี้ได้เป็นที่มาของ Oyster Perpetual Deepsea Challenge นาฬิกาที่แสดงถึงความสำเร็จและความก้าวหน้าครั้งใหม่ในการเดินทางดำดิ่งสู่ใต้มหาสมุทร

บรรยากาศของความท้าทายใต้ท้องทะเลลึก

หมุดหมายสำคัญครั้งใหม่ในการเดินทางสู่ใต้มหาสมุทร

นาฬิการุ่นใหม่ในคอลเลกชัน Oyster Perpetual นี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนาฬิกา Rolex Deepsea Challenge ซึ่งเป็นนาฬิการุ่นทดลองที่สวมใส่โดย James Cameron ขณะที่เขาดำดิ่งสู่บาดาลที่ร่องลึกมาเรียนาด้วยความลึก 10,908 เมตร (35,787 ฟุต) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2012 เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ตรงกับการรับประกันและให้ความรู้สึกสบายสูงสุดกับข้อมือ นาฬิกา Deepsea Challenge จึงรังสรรค์ขึ้นจากไทเทเนียม RLX ซึ่งเป็นไทเทเนียมอัลลอยเกรด 5 และติดตั้งวาล์วคายฮีเลียมและระบบ Ringlock ซึ่งสามารถติดตัวและเดินทางไปกับนักดำน้ำได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งการดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ การดำน้ำแบบ submersible หรือในห้องปรับความดันบรรยากาศสูง และสามารถดำดิ่งไปที่ความลึกสูงสุดถึง 11,000 เมตร (36,090 ฟุต) ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใด Oyster Perpetual Deepsea Challenge จะเปลี่ยนแรงดันเหล่านั้นให้กลายมาเป็นแนวร่วมที่ดี

Deepsea Challenge - ความสงบสุข

แรงดัน พลังธรรมชาติที่ต่อกรไม่ได้

Oyster Perpetual Deepsea Challenge คือนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำที่พัฒนาต่อยอดมาจากนาฬิกาที่ James Cameron ใส่ในการทดลองที่ร่องลึกมาเรียนาเมื่อปี 2012 นับว่านาฬิกาเรือนนี้ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดทางนวัตกรรมของนาฬิกามาแล้วเพราะมีคุณสมบัติในด้านความทนทานต่อแรงดันใต้น้ำและการป้องกันตัวเองจากผลลัพธ์ในแง่ลบที่สัมพันธ์กับฮีเลียมได้ในเวลาเดียวกัน ฮีเลียมเป็นแก๊สที่จำเป็นสำหรับนักดำน้ำลึก โดยแก๊สนี้เกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมเล็กๆ ที่สามารถซึมผ่านสารเคลือบกันน้ำในห้องปรับบรรยากาศได้ หากฮีเลียมยังอยู่ในตัวเรือนจะส่งผลให้นาฬิกาเสียหายถึงขั้นที่ทำให้คริสตัลของนาฬิกาหลุดออกจากตัวเรือนได้ในกระบวนการคายแรงดัน วาล์วคายฮีเลียมจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคายฮีเลียมออกมาโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการกันน้ำของนาฬิกา Deepsea Challenge ไม่เพียงแต่เป็นเพื่อนคู่ใจของนักดำน้ำลึกเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเพื่อนคู่ใจของผู้ที่ต้องการสวมใส่ในชีวิตประจำวันที่ชื่นชอบการท้าทายขีดจำกัดต่างๆ อีกด้วย

Deepsea Challenger

แปรแรงดันให้เป็นพลังสำคัญ

การสร้างตัวเรือนและสายจากไทเทเนียม RLX สามารถแก้ปัญหาเรื่องการสวมใส่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไทเทเนียม RLX เป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา การใช้โลหะชนิดนี้จึงสามารถลดน้ำหนักของตัวเรือน Deepsea Challenge ได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากนาฬิการุ่นทดลองของ James Cameron ในปี 2012 อาจกล่าวได้ว่า Deepsea Challenge คือผลิตผลของการวิจัยอันยาวนานในการแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ของการประกอบและผลิตนาฬิกา นาฬิกาเรือนใหญ่ที่มีหน้าปัดขนาด 50 มม. นี้ได้รับการออกแบบอย่างดีตั้งแต่ตัวเรือนจนถึงสายนาฬิกาเพื่อให้เหมาะกับการสวมใส่ในชีวิตประจำวัน ความสามารถในการทนแรงดันนั้นสามารถทำได้มากขึ้นถึงหนึ่งพันเท่า รวมถึงระบบวาล์วคายฮีเลียมและระบบ Ringlock แบบ Rolex Deepsea ได้ส่งผลให้นาฬิการุ่นนี้เป็นนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง

Deepsea Challenge - ผลักดัน

เปิดโลกกว้างทะลุขีดจำกัด

Deepsea Challenge คือส่วนหนึ่งของปณิธานด้านความเป็นเลิศของ Rolex และทำให้โลกใต้มหาสมุทรกลายเป็นการค้นพบครั้งใหม่ อาณาเขตอันลึกลับที่ดูอันตรายนี้คือแหล่งข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์โลกชั้นดี ท่ามกลางแรงดันที่ไม่ธรรมดา แต่สามารถดำดิ่งลงไปในความลึกที่ทะลุขีดจำกัดของมนุษย์และขยายขอบเขตความรู้ใหม่ๆ ได้ Deepsea Challenge จึงเป็นนาฬิกาที่เปี่ยมด้วยสมรรถภาพในการขีดเขียนอนาคตของโลกท่ามกลางข้อจำกัดต่างๆ

Deepsea Challenge

ตัวเรือน Oyster, ขนาด 50 มม., ไทเทเนียม RLX

ค้นพบนาฬิการุ่นนี้
  • James Cameron's watch
    Discover more
  • Deepsea Challenge
    Discover more