ยอดเขาเอเวอเรสต์

เขตแดนแห่งความเป็นไปได้

Air-King เป็นนาฬิกาที่สืบทอดคุณสมบัติของ Oyster และเคยอยู่บนข้อมือของนักบินที่กล้าหาญที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นนาฬิกาที่ยกย่องเกียรติประวัติของผู้ที่ทำให้ฟากฟ้าเป็นดินแดนแห่งการพิชิตและความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

โทรเลขที่ส่งมาจากซิดนีย์โดย Arthur Clouston และ Anthony Ricketts

เวลาสำหรับการทำลายสถิติ

หลังจากนักบินรุ่นบุกเบิก Owen Cathcart-Jones, Arthur Clouston, Anthony Ricketts และ Alex Henshaw ได้สร้างประวัติศาสตร์ในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยมี Rolex Oyster อยู่บนข้อมือของพวกเขา นักบินชาวอังกฤษก็ได้สร้างสถิติด้านความเร็ว ความทนทาน และระยะทางมากมายที่บินจากอังกฤษไปยังอีกฟากหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ

โฆษณาด้วยนักบิน
โฆษณาของ Rolex ได้แสดงจดหมายจาก Owen Cathcart-Jones ที่พูดยกย่องประสิทธิภาพของนาฬิกา Oyster

เหล่านักบินต่างยกย่องนาฬิกาในด้านความน่าเชื่อถือและความทนทานที่ต้องเผชิญกับสภาวะสุดขั้วในระหว่างการบิน ความคิดเห็นของพวกเขามีส่วนช่วยในการพัฒนานาฬิการุ่นต่อๆ มาในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Oyster Perpetual ทั้งหมด

Arthur Clouston และ Anthony Rickets
Arthur Clouston และ Anthony Rickets

ก้าวข้ามขีดจำกัด

Rolex ได้ยืนหยัดเคียงข้างเหล่าวีรบุรุษแห่งท้องฟ้าในช่วงเวลาที่การบินเป็นความสำเร็จทั้งทางกายภาพและทางเทคนิค นาฬิกา Rolex Oyster คือเพื่อนคู่กายในการเดินทางของ Houston Expedition เมื่อทำการบินเหนือยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นครั้งแรกในปี 1933

ความพยายามครั้งแรกของ Lord Clydesdale และ Stewart Blacker บนเครื่องบินปีกสองชั้นนั้นล้มเหลวเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยอย่างมาก หลายวันต่อมา ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1933 ในช่วงเวลาที่สภาพอากาศดีขึ้น เครื่องบินลำเล็กของพวกเขาได้บินขึ้นสู่ระดับความสูง 9,000 เมตร (29,528 ฟุต) และบินอยู่เหนือยอดเขาหิมาลัยได้สำเร็จ

โฆษณาก้าวข้ามขีดจำกัด
กัปตัน Charles Douglas Barnard สวม Oyster

ท่ามกลางสภาพอากาศอันหนาวเย็น พร้อมการหายใจผ่านถังออกซิเจน Blacker สามารถถ่ายภาพยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกได้ ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และนักบินก็ได้รับการต้อนรับในฐานะวีรบุรุษเมื่อเดินทางกลับถึงอังกฤษ Stewart Blacker ได้เขียนจดหมายถึง Rolex โดยเขากล่าวไว้ว่า “ผมไม่อยากจะนึกเลยว่าจะมีนาฬิกาเรือนใด ที่เคยอยู่ภายใต้สถานการณ์อันสุดโต่งขนาดนี้มาก่อน” ภาพถ่ายที่ถ่ายได้ในวันนั้นถูกเก็บเป็นความลับจนถึงปี 1951 และถูกนำไปใช้โดยคณะสำรวจ Hunt expedition ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นการปีนเขาพิชิตเอเวอเรสต์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 1953 โดยมีนาฬิกา Rolex ร่วมเดินทางไปด้วยเช่นกัน

เหนือยอดเอเวอเรสต์