รูปอาคาร Rolex

สถาปัตยกรรมอันประณีต

ด้วยความเชี่ยวชาญและเข้าใจลึกซึ้งถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสวยงามและฟังก์ชัน Rolex จึงสามารถร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับสถาปนิกที่อุทิศตนให้กับการสร้างสถาปัตยกรรมทั่วโลก สถาปนิกที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ Michael Graves (อาคาร Lititz Watch Technicum ณ เพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา), Fumihiko Maki (อาคาร Rolex Toyocho) และ SANAA principals Kazuyo Sejima และ Ryue Nishizawa (ศูนย์การเรียนรู้ของ Rolex สำหรับ EPFL ในโลซานน์)

ศูนย์การเรียนรู้ของ Rolex

ความยั่งยืนที่มาก่อนทุกสิ่ง

ไม่ว่าจะเป็นการผลิตนาฬิกาอันยอดเยี่ยม หรือในการสร้างสถาปัตยกรรมของตนเอง ความยั่งยืนคือสิ่งที่ Rolex ตระหนักและให้ความสำคัญอยู่เสมอ โครงการล่าสุดของ Rolex แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของแบรนด์ที่มีต่อสถาปัตยกรรมอันคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และเต็มไปด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ความเที่ยงตรง และสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

อาคาร Rolex ณ แดลลัส รัฐเท็กซัส

สถาปนิกชาวญี่ปุ่น Kengo Kuma ได้ออกแบบอาคารสำนักงานเจ็ดชั้นสำหรับ Rolex ที่แดลลัส โดยใช้งานเพื่อเป็นศูนย์รวมการขายของ Rolex และศูนย์บริการ ภายในอาคารประกอบไปด้วยระเบียงทุกๆ ชั้น การออกแบบนี้คำนึงถึงคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของเมืองแห่งนี้ การออกแบบอันซับซ้อนที่เต็มไปด้วยความท้าทายเพื่อสิ่งแวดล้อมนี้เป็นแนวทางการออกแบบของ Kuma ที่ออกแบบให้อาคารสามารถใช้แสงสว่างจากภายนอกได้ ทั้งยังมีพื้นที่ใช้สอย และการปรับพื้นผิวอย่างละเอียด

อาคาร Rolex ในเมืองแดลลัส

สำนักงานใหญ่ Rolex USA ที่นิวยอร์ก

ในส่วนของมหานครนิวยอร์กนั้น Sir David Chipperfield ได้ทำการออกแบบอาคารของสำนักงานใหญ่ Rolex USA ขึ้นใหม่ และกล่าวว่า “การออกแบบนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบอย่างเหมาะสม เพื่อรักษามรดกและวัฒนธรรมของแบรนด์ Rolex” อาคารสูงลักษณะเป็นซี่ฟันสลับกันในแนวตั้ง มีความสูง 25 ชั้น ทั้งยังได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ผ่านการประเมิน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และได้รับใบรับรองระดับแพลทินัม เพื่อแสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานได้อย่างยั่งยืน

สำนักงานใหญ่ของ USA